บทความ

ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติของโลก

รูปภาพ
พืชพรรณชนิดต่างๆ (Vegetation)       พืชพรรณเป็นคำที่ใช้เรียกรวมพืชชนิดต่างๆที่ปกคลุมพื้นที่ๆหนึ่ง หรืออาจจะหมายถึงพืชโดยรวมที่อยู่บนพื้นผิวของโลกทั้งโลกก็ได้       พืชพรรณตามธรรมชาติ (natural vegetation) หมายถึงพืชที่อยู่ในพื้นที่หนึ่งเองอยู่แล้วโดยธรรมชาติ และไม่ได้มีกิจกรรมของมนุษย์เข้าไปแทรกแซง เนื่องจากโลกเราเหลือพืชพรรณตามธรรมชาติเพียงน้อยนิดที่ยังคงไม่ถูกมนุษย์เข้าไปแทรกแซง เราจึงใช้คำว่า “พืชพรรณตามธรรมชาติ” เพื่อหมายถึงพืชพรรณทุกชนิดที่ไม่ได้ถูกจัดการหรือดูแลโดยมนุษย์หรือกิจกรรมทางการเกษตร       โลกเรามีเขตพืชพรรณ (vegetation region) ทั้งหมดสี่ประเภท ซึ่งแบ่งจากพืชพรรณที่พบเห็นได้มากในเขตนั้นๆ เขตพืชพรรณต่างๆคือ ป่าไม้ (forest) ทุ่งหญ้า (grassland) ทะเลทราย (desert) และทุนดร้า (tundra) พืชพรรณธรรมชาติของโลก       โดยทั่วไปลักษณะพืชพรรณธรรมชาติของโลกจะมีความแตกต่างกัน แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยการควบคุมหลายอย่าง เช่น ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะและสภาพดิน เป็นต้น โดยจะมีการจำแนกเขตพืชพรรณธรรมชาติของโลก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้       1.เขตทุ่งน้ำแข็ง เป็น

ลักษณะภูมิอากาศของโลก

รูปภาพ
“ภูมิอากาศ (Climate)” หมายถึง สภาวะอากาศของทวีป ประเทศ เมือง หรือท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นลักษณะอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลายาวนาน จึงจัดได้ว่าเป็นตัวแทนของลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง ในบางครั้งเราเรียกว่า “ภูมิอากาศประจำถิ่น“(Topoclimate) ข้อมูลภูมิอากาศได้มาจากการตรวจอากาศประจำวันและนำข้อมูลที่ได้มาทำการบันทึกติดต่อกันเป็นเวลานาน และจึงนำมาหาค่าเฉลี่ยอีกครั้งหนึ่ง โดยข้อมูลที่จัดเก็บได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน เมฆ และลม ร่วมกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ อันได้แก่ ทัศนวิสัย แสงแดด พายุหมุน เป็นต้น ส่วนคำว่า “ลมฟ้าอากาศ”(Weather)” หมายถึง สภาวะอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งในพื้นที่แห่งหนึ่ง เป็นสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงระยะเวลาต่างๆ ในรอบปี  การจำแนกภูมิอากาศโลก       ปี ค.ศ.1918 วลาดิเมียร์ เคิปเปน (Vladimir Kóppen) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้จำแนกภูมิอากาศโลกโดยใช้เกณฑ์อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนและปริมาณหยาดน้ำฟ้า โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ดังนี้           A     ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร ทุกเดือนมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 18°C ไม

ประเภทของแผนที่

รูปภาพ
         แผนที่ (Map) เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง โดยการย่อข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏบนพื้นโลกให้มีขนาดเล็กลงตามมาตราส่วน และแสดงข้อมูลดังกล่าวด้วยสัญลักษณ์ลงบนวัสดุต่าง ๆ         ชนิดของแผนที่          1. แผนที่ทั่วไป เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะโดยทั่วไปได้แก่แผนที่แสดงลักษณะภูมิภาคต่างๆ โดยจะแสดงด้วยสี เพื่อให้เห็นความแตกต่างของลักษณะแผ่นดิน         2. แผนที่อ้างอิง เป็นแผนที่ที่ใช้เป็นหลักในการทำแผนที่ชนิดอื่นๆแผนที่อ้างอิงที่สำคัญ ได้แก่ แผนที่ภูมิประเทศ คือ แผนที่ที่ใช้แสดงลักษณะภูมิประเทศบนพื้นผิวโลก เช่น ที่ราบ ที่ราบสูง เนินเขา แม่น้ำ เกาะ ถนนเมือง และแผนที่ชุด คือ แผนที่หลายเเผ่นที่มีมาตราส่วนและรูปแบบเป็นอย่างเดียวกัน และครอบคลุมพื้นที่ ใดพื้นที่หนึ่งโดยเฉพาะ           3. แผนที่เฉพาะเรื่อง เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะเฉพาะตามจุดมุ่งหมาย เช่น แผนที่ แสดงป่าไม้ แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคม แผนที่แสดงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น สามารถแบ่งได้ดังนี้        3.1 แผนที่รัฐกิจ (political map) คือแผนที่แสดงอาณาเขตทางการปกครอง เช่น เขตจังหวัดหรือประเทศ

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

รูปภาพ
       เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ หมายถึง สิ่งที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เกี่ยวกับ ตำแหน่ง ทำเลที่ตั้งการกระจาย ขอบเขต ความหนาแน่นของข้อมูล และปรากฏการณ์ต่าง ๆ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์จำแนกตามหน้าที่หลักของการใช้งานได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือประเภทให้ข้อมูลกับประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ มีดังนี้ 1.ประเภทให้ข้อมูล ได้แก่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียมและอินเตอร์เน็ต 1.1 แผนที่ (Mep)       เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง โดยการย่อข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏบนพื้นโลกให้มีขนาดเล็กลงตามมาตราส่วน และแสดงข้อมูลดังกล่าวด้วยสัญลักษณ์ลงบนวัสดุต่าง ๆ เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นพลาสติก ฯลฯ ข้อมูลที่แสดงในแผนที่ มี 2 ลักษณะ คือ 1) ข้อมูลด้านกายภาพ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ชายฝั่งทะเล เกาะ และป่าไม้ 2) ข้อมูลด้านวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ถนน เขื่อน ที่ว่าการอำเภอ โรงเรียน สถานีอนามัย ฯลฯ 1.2 รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photography)       เป็นรูปภาพแสดงภูมิประเทศที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก ถ่ายโดยใช้กล้องถ่ายรูปติดไว้กับเครื่องบ

Profile

รูปภาพ
ยินดีต้อนรับ ทุกท่านเข้าสู่เว็ปไซต์เพื่อแบ่งปันความรู้วิชาภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นสื่อกลางในการจัดการเรียนการสอน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจ นายสมเดช ทีงาม คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต รัฐศาสตร์ จากสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านปอหมัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 สอนในกลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม